1.วัตถุประสงค์การเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ต
จุดประสงค์การเรียนรู้วิชาเทคโนโลยีการสื่อสารและอินเตอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนทราบถึง
                1. หลักการและความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและการสื่อสาร เช่น  อินเตอร์เน็ตอุปกรณ์โมเด็ม    อินเตอร์เน็ตแถบกว้าง   การสื่อสารในเครือข่ายขนาดเล็ก  มาตรฐานอินเตอร์เน็ตต่างๆ   มาตรฐานอินเตอร์เน็ต  เครือข่ายและเทคโนโลยีการสื่อสารภายในองค์กรขนาดใหญ่และโครงข่ายโทรศัพท์ทั้งชนิดมีสายและไร้สาย
                2. การประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ  อินเตอร์เน็ต   เวิร์ดไวต์เว็บ  Search Engine       ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต   การสื่อสารโทรคมนาคม   สถาปัตยกรรมไคลแอนท์-เซิร์ฟเวอร์URLและชื่อโดเมน   เทคโนโลยีแบบหนุน   เครื่องมือต่างๆ สำหรับการจัดแต่งเว็บ  โปรโตคอลอินเตอร์เน็ต   การออกแบบเว็บไซต์   การจัดการลิงค์และเนื้อหา  ภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้แก่ HTML, XML, DHTML, Java, และ Perl    เทคโนโลยี DotNet   เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส   เทคโนโลยีเชิงวัตถุและ J2EE    สภาพแวดล้อมของการพัฒนาระบบ   มัลติมีเดีย  ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์และฐานข้อมูลเชิงวัตถุ    การป้องกันความมั่นคงปลอดภัยคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ไฟร์วอลล์ การเข้ารหัสและถอดรหัส ระบบคริปโตแบบรหัสสาธารณะ และลายเซ็นต์ดิจิตอล
                เกี่ยวกับ Search Engine ได้แก่ วจีภาคของเอกสาร, การบีบอัดและทำสารบัญ, สไปเดอร์และคลอเลอร์, การวัดความสำคัญ, การให้คะแนน, การจัดลำดับ      หน้าเว็บ; การกำหนดคิวรี; ฟิลเตอร์, การแยกส่วนข้อมูล เกี่ยวกับซอฟต์แวร์เอเจนท์ : บอทและเอเจนท์,       โบรกเกอร์และเอเวตาร์, การแทนความรู้, หลักวิธีค้นหา, การวินิจฉัยกฎ,   นิวโรเน็ตเวิร์ค; ระบบสำหรับการเขียนโปรแกรมเอเจนท์

2.การใช้สื่อ ICT ของประเทศลาว
     การใช้ ICT เพื่อการพัฒนาประเทศ
                รัฐบาลของประเทศลาว  ให้ความสำคัญกับเรื่องการใช้ ICT ว่าเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญของการพัฒนาประเทศทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม โดยได้มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับ ICT ในระดับนโยบายดังต่อไปนี้
                1. จัดตั้งหน่วยงานชื่อ Science Technology and Environment Agency (STEA) ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ในประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้คือ
                1.1 เพื่อช่วยรัฐบาลในการทำวิจัยและให้บริการเกี่ยวกับเรื่อง ICT ในระดับมหภาค ที่เป็นภาพรวมทั้งประเทศ
                1.2 เพื่อทำหน้าที่หลักในการเชื่อมประสานกระทรวงต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานระดับรองลงมาเกี่ยวกับเรื่อง ICT
                1.3 ดำเนินโครงการ ICT เพื่อจัดสร้างระบบ gateway ให้กับหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วนเพื่อให้สามารถที่จะใช้ ICT ร่วมกันอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
                2. ได้พยายามที่จะลดช่องว่างเกี่ยวกับ ICT ให้กับคนทุกระดับในสังคม โดย STEA ได้จัดทำโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องหลายโครงการและประสบความสำเร็จมากมาย เช่น
                2.1 การพัฒนาภาษาลาวในระบบคอมพิวเตอร์ โดยการทำงานร่วมกับบริษัทไมโครซอพท์ (Microsoft) เพื่อแปลงภาษาคอมพิวเตอร์คือ Windows Vista และ Office 2007 เป็นภาษาลาว
                2.2 จัดทำโครงการรัฐบาลอีเล็คทรอนิคส์ (e-Government) ที่เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2009 ทั้ง นี้ก็เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมต่อระบบการปกครองระดับท้องถิ่นกับระบบ รัฐบาลกลาง รวมทั้งการเชื่อมประสานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนโดยภาพรวมด้วย

3.การใช้ ICT ในการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
            ปัจจุบันเรามัก จะได้ยินคำว่า ICT กันเสมอ ในเชิงการแข่งขันคนที่มีความรู้ความสามารถเท่านั้น จึงจะสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักยภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ที่เราเรียกว่า ยุคสมัยของการดำรงชีวิตภายใต้การแข่งขันด้านความรู้ความสามารถ (Knowledge-based economy/society) การนำ ICT ไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเรื่องที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในวงการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจาก ICT เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับว่ามีศักยภาพสูง กว่าเครื่องมือการสอนอื่น ๆ เราสามารถใช้ ICT เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนได้ คำว่า “ ICT” ย่อมาจาก Information and Communication Technologies หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง การรวมตัวกันของเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีการสื่อสาร (CT) เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลข่าวสารมาจัดเก็บอย่างเป็นระบบ หรือหมวดหมู่ เพื่อให้ทุกคนที่สนใจเข้าถึงข้อมูล และสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ตามกรอบแนวความคิดทั้ง 6 ประการ ดังกล่าว จัดเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นที่สำคัญในสาระขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา
                ในศตวรรษแห่งภูมิปัญญามีการนำเอา ICT มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted Instruction) การเรียนในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (e-Leaning) การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล (Distance Learning) ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะให้ผู้เรียน เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย หรือในโลกแห่งความรู้ (World Knowledge) ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียนเวลาใด สถานที่ใด หรือแม้กระทั่งจะเรียนรู้กับใครก็ได้ตามความสนใจของแต่ละคน จึงเกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากขึ้น

4.บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
          ความก้าวหน้าทางด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากมีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอด เวลา
                พัฒนาการของเทคโนโลยีทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนไปมาก ลองย้อนไปในอดีตโลกมีกำเนินมาประมาณ 4600 ล้านปี เชื่อกันว่าพัฒนาการตามธรรมชาติทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตถือกำเนินบนโลกประมาณ 500 ล้านปีที่แล้ว ยุคไดโนเสาร์มีอายุอยู่ในช่วง 200 ล้านปี สิ่งมีชีวิตที่เป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ ค่อย ๆ พัฒนามา คาดคะเนว่าเมื่อห้าแสนปีที่แล้วมนุษย์สามารถส่งสัญญาณท่าทางสื่อสารระหว่าง กันและพัฒนามาเป็นภาษา มนุษย์สามารถสร้างตัวหนังสือ และจารึกไว้ตามผนึกถ้ำ เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่ามนุษย์ต้องใช้เวลานานพอสมควรในการพัฒนาตัวหนังสือที่ใช้แทนภาษา พูด และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 5000 ปีที่แล้ว กล่าวได้ว่าฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า มนุษย์สามารถจัดพิมพ์หนังสือได้เมื่อประมาณ 500 ถึง 800 ปีที่แล้ว
                เทคโนโลยีเริ่มเข้ามาช่วยในการพิมพ์ ทำให้การสื่อสารด้วยข้อความและภาษาเพิ่มขึ้นมาก เทคโนโลยีพัฒนามาจนถึงการสื่อสารกัน โดยส่งข้อความเป็นเสียงทางสายโทรศัพท์ได้ประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว และเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว ก็มีการส่งภาพโทรทัศน์และคอมพิวเตอร์ทำให้มีการใช้สารสนเทศในรูปแบบข่าวสาร มากขึ้น ในปัจจุบันมีสถานที่วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แ ละสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ในการกระจ่ายข่าวสาร มีการแพร่ภาพทางโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเพื่อรายงานเหตุการณ์สด เห็นได้ชัดว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้าน คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในช่วงสี่ห้าปีที่ผ่านมาจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา
สรุป ICT  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
                  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันนับว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง   เพราะเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกสบายต่อการดำชีวิตของมนุษย์เป็นอันมาก     และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้เป็นอย่างดีเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น   นอกจากนี้ยังสามารถนำมาใช้ในด้านการเรียนการสอน     หรือการนำเข้ามาช่วยงานในด้านต่างๆ ขององค์กร  หน่วยงานราชการทั้งภาครัฐและภาคเอกชนหรือในสถานศึกษาทุกระดับได้
                  ดังนั้น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศต่อไป



บทบาทของ Enterprise Architecture กับ Service Scienceในการจัดการธุรกิจยุคใหม่ ตอนที่ 4




บทความตอนที่สาม ได้จบด้วยกรอบแนวคิดของการทำให้ยุทธศาสตร์ไอทีที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธุรกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้บริหารในขณะนี้ และเป็นพื้นฐานสำคัญของ Enterprise Architecture (EA) และโดยที่ EA เป็นเสมือนแผ่นพิมพ์เขียวขององค์กรที่เก็บรายละเอียดตั้งแต่วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ ไปจนถึงกระบวนการดำเนินงานทุก ๆ ด้าน ที่สำคัญคือการรวบรวมบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับไอซีทีที่ใช้สนับสนุนกิจการขององค์กรตั้งแต่ระบบซอฟต์แวร์ ระบบข้อมูล จนถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีอย่างสมบูรณ์  ข้อมูลทั้งหมดนี้ถือได้ว่าเป็นตัวแทนที่สามารถอธิบายความเป็นองค์กรในทุก ๆ มิติ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายทุกระดับ ตั้งแต่ฝ่ายบริหารจัดการธุรกิจตลอดจนถึงฝ่ายเทคโนโลยี ทุกฝ่ายต่างมีส่วนร่วมในการจัดทำ EA โดยเฉพาะร่วมกันเป็นเจ้าของงานด้าน EA โดยรวม เพื่อไม่ให้ EA ถูกมองเป็นเรื่องของเทคนิคคอมพิวเตอร์มากเกินไป จนเป็นเหตุให้นักธุรกิจมีความรู้สึกว่าEA นั้นเป็นเรื่องไกลตัว  ไม่เป็นเรื่องที่ตนเองต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเป็นเหตุให้การลงทุนลงแรงด้านEA ไร้คุณค่าและไม่ตรงตามเจตนาของ EA  จึงจำเป็นที่ในบทความนี้ต้องตอกย้ำความสำคัญเรื่องบทบาทของยุทธศาสตร์ของธุรกิจในบริบทของ EA ด้วยการแนะนำกรอบแนวคิดของ Business Motivation Model (BMM) หรือแปลเป็นไทยว่า รูปแบบเชิงมูลเหตุจูงใจของธุรกิจ (จากนี้ไปจะใช้คำย่อว่า BMM ) เนื่องจาก BMM เป็นกรอบแนวคิด หรือรูปแบบการทำแผนยุทธศาสตร์และแผนอื่น ๆ ครอบคลุมตั้งแต่เป้าหมายปลายทาง และส่วนที่เป็นวิธีการนำธุรกิจไปสู่เป้าหมาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญเชื่อมโยงส่วนอื่น ๆ ของแผ่นพิมพ์เขียวขององค์กรที่เรียกว่า EA  ความสามารถทำให้ผู้บริหารได้ตระหนักถึงความสำคัญของEnterprise Architecture ส่งผลให้ทีมงานที่จัดทำ EA เกิดความมั่นใจว่าฝ่ายบริการทางด้านธุรกิจได้ให้ความสำคัญ และพร้อมจะสนับสนุนงานในโครงการ EA เพื่อให้ได้แผ่นพิมพ์เขียวที่สมบูรณ์เพื่อสนับสนุนการบริการธุรกิจในทุก ๆ มิติได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดไป

2.        Business Motivation Model (BMM)
  BMM ประกอบด้วยคำสองคำคือ “Business Motivation” และ “Model” ซึ่งต้องการสื่อความหมายดังนี้

1)        Business Motivation หรือเหตุจูงใจของธุรกิจ เป็นการหาคำตอบว่าเหตุใดธุรกิจจึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานตามที่เห็น และมีสิ่งใดที่จูงใจให้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จนนำไปสู่การกำหนดแผนปฏิบัติงานในทุก ๆ ระดับ
2)        Model หรือรูปแบบ  Wikipedia ให้ความหมายของโมเดลเป็นภาษาอังกฤษว่า “a model is anything used in any way to represent anything else” แปลเป็นไทยว่า โมเดลหมายถึงสิ่งที่นำมาใช้ในทางที่เป็นตัวแทนของสิ่งอื่น”  เป็นตัวแทนที่สื่อความหมายเฉพาะของสิ่งที่มีความสลับซับซ้อน เช่นแผนที่ถือว่าเป็นโมเดลของระบบถนนที่มีความสลับซับซ้อน แผ่นพิมพ์เขียวถือว่าเป็นโมเดลของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง ผังกระบวนงาน (Business process model) เป็นโมเดลของขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ฯลฯ  

ดังนั้น Business Motivation Model (BMM) จึงหมายถึงโมเดลหรือรูปแบบเชิงมูลเหตุจูงใจของธุรกิจ ที่สามารถอธิบายว่าเหตุใดธุรกิจจึงทำในสิ่งที่ทำ มีเหตุจูงใจสิ่งใดที่ทำให้ต้องกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ตามที่เห็นจนนำไปสู่การกำหนดแผนงานธุรกิจต่าง ๆ  BMM ให้ความสำคัญกับเหตุผลที่เรียกว่า Influences ที่นำมาสู่การกำหนดแผนงานต่าง ๆ ภาษาไทยอาจเรียกInfluence ว่าเป็นอิทธิพล หรือสิ่งกดดันทั้งจากภายในและภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ หรือเป็นเหตุให้ต้องปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจใหม่ ตัวอย่าง Influences จากภายนอก เช่นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค แนวคิดการแข่งขันด้วยบริการและสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภค คู่แข่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ถึงขั้นทำให้สินค้าปัจจุบันหมดความนิยมและล้าสมัย  ตัวอย่างInfluence จากภายในเช่นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่มีอายุเฉลี่ย 55 ปีนั้นมีถึงร้อยละ 70 เป็นสาเหตุให้ยุทธศาสตร์ไม่ทันสมัยและแข่งขันกับบริษัทรุ่นใหม่ ๆ ไม่ได้   วัฒนธรรมองค์กรยังยึดติดอยู่กับการทำงานของศตวรรษที่ 20 ยังไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยอย่างเหมาะสมได้  Influences จึงเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในองค์กร 

การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่มักเกิดจากผู้นำเพียงไม่กี่คนนั้น จำเป็นต้องมีช่องทางที่ทำให้คนอื่น ๆ ในองค์กรมีโอกาสรับรู้และเข้าใจที่มาที่ไปของการเปลี่ยนแปลง ที่สำคัญที่สุด ผู้ที่ต้องปรับปรุงทั้งวิธีทำงาน การปรับเปลี่ยนระบบซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และระบบข้อมูลให้สอดคล้องกับแผนงานใหม่ ๆ ต้องสามารถเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงกับเหตุผลซึ่งเป็นที่มาของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนและมีเอกภาพ BMM ถูกสร้างขึ้นให้เป็นเครื่องมือเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว และกลายเป็นส่วนสำคัญของ Business Architecture ของ Enterprise Architecture

2.1.     ประโยชน์ของ BMM

ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า BMM เป็นรูปแบบที่แสดงเหตุจูงใจการกำหนดแผนธุรกิจ รวมทั้งกำหนดองค์ประกอบของแผนและความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบต่าง ๆ ของโมเดลด้วย  BMM มีคุณลักษณะเป็น Cause and Effect ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ (Events) 2 ชุด ชุดแรกเป็น “Cause หรือ เหตุ หรือ สาเหตุ ชุดที่สองเป็น “Effect หรือผล” โดยเหตุการณ์อย่างที่สองนี้เป็นผลที่เกิดจากเหตุของเหตุการณ์ที่หนึ่ง  เมื่อใช้กับการวางแผนยุทธศาสตร์ ถ้า การทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างสะดวกและทั่วถึง” เป็นผลที่ต้องมีให้ได้ เราก็ต้องกำหนด ให้มีเว็บไซท์บริการลูกค้า” เป็นยุทธศาสตร์ เขียนบรรยายเป็นโมเดลได้ดังต่อไปนี้

BMM จึงเป็นผังที่ประกอบด้วยกลุ่มเหตุการณ์ในลักษณะ Cause and Effect ที่เกี่ยวข้องกับ Vision, Mission, Goal, Strategies, Objective, Tactics, รวมทั้ง Influences และ Assessment ที่จะบรรยายรายละเอียดต่อไป โมเดลลักษณะนี้นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างน้อยดังนี้
1)        เป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร
ธุรกิจไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก ต่างมีกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันระหว่างคนที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก เพื่อให้คนทุกคนสามารถทำงานตามหน้าที่อย่างสอดคล้องกันระหว่างกัน จำเป็นต้องให้ทุกคนเข้าใจกฎระเบียบ พันธกิจของแต่ละคนที่สอดคล้องกับพันธกิจขององค์กร ต้องเข้าใจบทบาทและกระบวนการทำงานในส่วนที่รับผิดชอบไม่เฉพาะของตนเอง แต่ของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะถ้าจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ หรือวิธีทำงานที่จุดหนึ่งจุดใด ผู้ที่ได้รับผลกระทบต้องมีโอกาสรับรู้และปรับปรุงบทบาทในส่วนของตนเองให้สอดคล้องกัน   BMM เป็นเครื่องมือที่ดีที่ใช้สื่อสารให้คนที่เกี่ยวข้องได้รับรู้สิ่งที่กล่าวข้างต้นได้อย่างทั่วถึงและแม่นยำ
2)        การโน้มน้าวและขายไอเดียให้ผู้อื่น
ผู้ที่รับผิดชอบในการวางแผน หรือกำหนดกฎกติกา หรือแม้กระทั่งออกระเบียบใหม่ ๆ ที่ให้ผู้อื่นปฏิบัติ จำเป็นต้องมีวิธีนำเสนอและโน้มน้าวให้ผู้อื่นยอมรับเพื่อดำเนินแผนงานใหม่ได้อย่างราบรื่น  ด้วยเหตุที่ BMM ได้บันทึกเหตุที่นำไปสู่ผลในด้านที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนงานทุกระดับ สามารถเข้าใจที่มาที่ไปได้อย่างชัดเจน จึงเป็นเครื่องมือที่สนับสนุนการนำเสนอความคิดและโน้มน้าวให้คนอื่นเห็นชอบอย่างมีเหตุมีผล
3)        การวิเคราะห์
แผนทุกแผนเมื่อได้ดำเนินการไประยะหนึ่ง จำเป็นต้องมีการประเมินผลเพื่อนำไปสู่การหาโอกาสปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น นอกจากนี้แผนงานบางส่วนอาจจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีไอซีทีเพื่อสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น การวิเคราะห์จึงเป็นกิจกรรมที่จะขาดไม่ได้ในหน่วยงานทุกระดับ  BMM ซึ่งมีลักษณะเป็นผังยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ ของกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นเครื่องมือช่วยการวิเคราะห์แผนงานได้เป็นอย่างดี
4)        จัดการให้ทำงานตามกฎระเบียบ
ทุกวันนี้ธุรกิจได้ให้ความสำคัญเรื่องธรรมาภิบาลมากขึ้น องค์กรต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับของทางราชการมากขึ้น พนักงานเองก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎระเบียบขององค์กรอย่างเคร่งครัด  BMM มีส่วนเชื่อมโยงกับนโยบายและกฎระเบียบขององค์กรที่ใช้กำกับการทำงานทุกระดับ ทำให้การบริหารจัดการตามกฎระเบียบในทุกระดับสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5)        เก็บรายละเอียดสนับสนุนการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์
เมื่อองค์กรต้องการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์สนับสนุนการทำงานส่วนหนึ่งส่วนใด ข้อมูลที่ปรากฏในโมเดล BMM โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจ (Business processes) สามารถนำไปพัฒนาต่อให้เป็นส่วนหนึ่งของ Software requirement ได้

2.2.     มาตรฐานเกี่ยวกับ BMM

โมเดล BMM ที่นิยมใช้กันในปัจจุบันอาศัยมาตรฐานของ OMG (Open Management Group) ภายใต้มาตรฐานนี้ OMG กำหนดเพียงส่วนประกอบของโมเดล BMM และไม่ได้กำหนดมาตรฐานของตัวรูปภาพหรือรูปแบบนำเสนอ (Form of Representation)  แต่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้หันมาเลือกใช้  UML เป็นมาตรฐานหลัก  OMG BMM กำหนดให้มี Core Concepts หรือ Core Component 4 ชุดประกอบด้วย 1) Ends หรือจุดหมายปลายทางของธุรกิจ 2Means หรือกรรมวิธี 3Influencer หรือปัจจัยที่เป็นอิทธิพลหรือแรงกดดัน และ 4) Assessment หรือการประเมินผล ดังรายละเอียดต่อไปนี้

2.2.1.  Ends หรือจุดหมายปลายทางของธุรกิจ OMG ถือว่าเป็นผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น ประกอบด้วย
1)        Vision หรือวิสัยทัศน์ คือผลที่องค์กรต้องการเห็นให้เกิดขึ้นในอนาคต เช่นต้องการเป็นองค์กรชั้นนำที่ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภค
2)        Goal หรือเป้าหมาย คือผลระยะยาวที่คาดหวังว่าจะได้ เป็นการขยายความ (Amplify)จากวิสัยทัศน์  เช่น องค์กรทำธุรกิจบริการแทนการจำหน่ายสินค้า
3)        Objective หรือเป้าประสงค์ คือผลระยะสั้นที่วัดผลได้ มีการกำหนดทั้งช่วงเวลาที่เกิดผลและผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้ เป็นการ Quantify จากเป้าหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่นเปลี่ยนธุรกิจให้เป็นบริการทั้งหมดภายในระยะเวลา 24 เดือน
2.2.2.  Means หรือวิธีการ OMG ถือว่าเป็นวิธีการที่ทำให้เกิดผล ประกอบด้วย
1)        Mission หรือพันธกิจ การปฏิบัติที่ทำให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ได้ (Operationalize)เช่นสร้างนวัตกรรมด้านบริการใหม่ ๆ ที่นำไปสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภคได้
2)        Strategy หรือยุทธศาสตร์ เป็นแผนงานระดับสูงที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้เกิดผลตามเป้าหมาย (Goal)  เช่น เปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ (Business model) จากการจำหน่ายสินค้าเป็นการให้บริการโดยอาศัยเทคโนโลยีไอซีทีสนับสนุนการสร้างคุณค่าให้ผู้บริโภค
3)        Tactic หรือกลยุทธ์ เป็นแผนงานระยะสั้นเพื่อนำยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ(Implement strategy) กลยุทธ์จะประกอบด้วยมาตาการต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ (Achieve objectives) เช่น ใช้ Cloud computing บริการลูกค้าแบบครบวงจรด้วยระบบซอฟต์แวร์ที่ปรับปรุงได้ตามบริบทของลูกค้าอย่างยืดหยุ่นและคล่องตัว
2.2.3.  Influencer หรือปัจจัยที่มีอิทธิพลและกดดันธุรกิจ ธุรกิจไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้งระยะยาวและระยะสั้น เช่นปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยการแข่งขัน ปัจจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค และอื่น ๆ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยภายในองค์กร เช่นการเรียกร้องของสหภาพแรงงาน องค์ความรู้ที่ล้าสมัยของพนักงาน วัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาบริการลูกค้า เป็นต้น Influencer มีผลต่อแผนธุรกิจทั้งระยะยาวและระยะสั้นทั้งในทางบวกและในทางลบ Influencers มีผลทำให้องค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์และเป้าหมายของธุรกิจอยู่ตลอดเวลา
2.2.4.  Assessment เนื่องจาก Influencers ของแต่ละองค์กรมีจำนวนมาก ทั้งที่สำคัญและที่ไม่สำคัญ ทั้งที่เป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก และทั้งที่เป็นปัจจัยบวก และปัจจัยลบ เพื่อให้ผู้บริหารได้ตระหนักถึงปัจจัยสำคัญ ๆ เพื่อเตรียมตัวรับมือต่อผลที่อาจเกิดขึ้นอย่างทันต่อเหตุการณ์ จำเป็นต้องมีการประเมินผลกระทบจาก Influencers ตลอดเวลา Assessmentคือการประเมิน Influencers และกรองหรือ Filter แต่เฉพาะตัวที่มีความสำคัญเพื่อจะได้เตรียมปรับแผนรับมือกับปัจจัยเหล่านี้ได้

2.3.      วิธีใช้ BMM เพื่อการสร้างยุทธศาสตร์

BMM เป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับวางแผนยุทธศาสตร์ อาศัยหลักคิดของ Cause and Effect หรือเหตุนำไปสู่ผล การวางแผนส่วนมากเริ่มต้นด้วยการทบทวนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อธุรกิจ หรือ Influencers แล้วใช้วิธีการSWOT (Strength, Weakness, Opportunity, and Threat) เป็นเครื่องมือในการประเมินผล (Assessment)ทั้งปัจจัยด้านลบและด้านบวก ทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอก ผลการประเมินปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวนำไปสู่การกำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขจุดอ่อน หรือปัจจัยคุกคาม หรือกำหนดมาตรการเพื่อใช้จุดแข็งและโอกาสให้บังเกิดผลโดยเร็ว ตามที่แสดงในภาพต่อไปนี้ 

                                                            Source:  Paul Vincent, www.omgwiki.org

จากภาพที่แสดงข้างต้น การวางแผนด้วย BMM มีขั้นตอนดังนี้

1.         พิจารณาจากกลุ่ม Influencers แล้วเลือกเฉพาะตัวที่มีนัยสำคัญเพื่อศึกษาและพิจารณาผลกระทบต่อธุรกิจต่อไป
2.         ประเมินผลจากกลุ่ม Influencers ที่ได้เลือกไว้จากข้อ การประเมินอาจใช้ SWOTเพื่อหาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบ
3.         ผลกระทบตามข้อ นำไปสู่การกำหนดแผนปฏิบัติทั้งในระดับยุทธศาสตร์และระดับกลยุทธ์
4.         ในกรณีที่จำเป็น อาจกำหนดนโยบายและกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนแผนธุรกิจใหม่ได้
5.         เมื่อแผนงานได้ผ่านการทบทวนพิจารณาโดยรอบคอบและพร้อมนำสู่การปฏิบัติ จึงให้มีการออกแบบขั้นตอนปฏิบัติเป็น Business processes ที่สอดคล้องกับนโยบายและกฎระเบียบใหม่ขององค์กร
6.         สุดท้าย ให้กำหนดหน่วยงานและบุคคลรับผิดชอบตามหน้าที่งานภายใต้กระบวนการธุรกิจใหม่อย่างครบถ้วน

ข้อดีของการใช้ BMM เพื่อการวางแผนธุรกิจตามที่กล่าวข้างต้น คือขั้นตอนการวางแผนนั้นเป็นไปตามขั้นตอนของกรอบทำงานของ BMM ที่เป็นมาตรฐานสากล อาศัยผังโมเดลของ BMMทำให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องเข้าใจที่มาที่ไปของส่วนต่าง ๆ ของแผนธุรกิจ เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่าง Planning components กับส่วนอื่นของระบบปฏิบัติงานทั้งระดับ Business processesระบบซอฟต์แวร์ ระบบฐานข้อมูล และส่วนอื่นของระบบไอซีที ตลอดจนบุคลากรที่รับผิดชอบ กลายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นฐานของ Enterprise Architecture ที่สำคัญ

ผู้อ่านที่สนใจสามารถศึกษาการใช้ BMM จากตัวอย่างที่ปรากฏในเอกสาร:
1.         Dr. Knut Hinkelmann, Business Motivation Modelling,http://knut.hinkelmann.ch/lectures/EA2012/EA_6a_BMM_Ends_Means.pdf
2.         Bridgeland, David M., Zahavi, Ron, Business Modeling: A Practical Guide to Realizing Business Valuehttp://books.google.co.th/books/about/Business_Modeling.html?id=AzeN1lNEoNAC&redir_esc=y

  ตอนที่ จะกล่าวถึง Service Science ในบริบทของ Influencer ของ BMM

Saturday, May 17, 2014


บทบาทของ Enterprise Architecture กับ Service Scienceในการจัดการธุรกิจยุคใหม่ ตอนที่ 3




บทความสองตอนแรก ได้กล่าวถึงความจำเป็นที่ต้องวางแผนไอซีทีให้สอดคล้องกับแผนธุรกิจ และได้แนะนำกรอบเพื่อการวางแผนที่สอดคล้องกัน บนพื้นฐานของ Strategic Fit และ Functional Integrationภายใต้แนวคิดแบ่งแผนขององค์กรเป็น ส่วน (Domains) จากด้านของธุรกิจและด้านของไอซีที ประกอบด้วย 1) Business Strategy 2) Organizational Infrastructure and Processes 3) IT Strategy และ 4) IT Infrastructure and Processes เราจะอาศัยแผนทั้ง ส่วนขององค์กรนี้เป็นแนวทางวางแผนไอซีทีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจดังที่จะบรรยายต่อในตอนที่ นี้

ในการวางแผนยุทธศาสตร์ไอทีให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจตามกรอบที่แนะนำโดยHenderson และ Venkatraman[1] นั้น เราต้องเลือกจากหนึ่งในสองทางตามความเหมาะสม กล่าวคือ อาจเริ่มต้นจากยุทธศาสตร์ธุรกิจก่อน หรือเริ่มจากยุทธศาสตร์ไอทีก่อน โดยมีหลักการที่จะนำเสนอต่อไปนี้ 

1.1.     เริ่มจากยุทธศาสตร์ธุรกิจ
ตามที่กล่าวในตอนที่ ว่า วิธีที่จะทำให้แผนไอทีและแผนยุทธศาสตร์สอดคล้องกัน โดยมีคุณสมบัติครบทั้ง Strategic fit และ Functional integration นั้น ให้วางแผนด้วยการเลือกแผนจากใน 4 Domains ที่แสดงใน ภาพที่ ในกรณีนี้ เราเลือกที่จะเริ่มต้นจากแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจ ทำให้เรามีทางเลือกที่จะทำงานต่อได้ ทาง คือเลือกทวนเข็มนาฬิกา หมายความว่า เราจะเลือกทำแผน Organizational Infrastructure and processes ต่อจากแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจก่อน แล้วไปจบด้วยแผน IT Infrastructure and processes แต่ถ้าเลือกตามเข็มนาฬิกา หมายความว่า เรามีเจตนาที่จะเลือกทำแผนยุทธศาสตร์ไอทีต่อจากแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจ แล้วไปจบด้วย IT Infrastructure and processes (ให้ดูจากภาพที่ ที่นำมาแสดงซ้ำและภาพที่ ประกอบการอธิบาย)

                             ภาพที่ 1  แสดงความสัมพันธ์ที่สอดคล้องระหว่างธุรกิจและไอที
                                                         (ภาพ ก.)                                               (ภาพ  ข.)
            ภาพที่ 2  การวางแผนเริ่มจากยุทธศาสตร์ธุรกิจแล้วตามด้วย (ทวนเข็มนาฬิกา (ตามเข็มนาฬิกา


การเลือกวิธีตามที่กล่าวมีนัยแตกต่างกันดังนี้

สมมุติว่าผู้บริหารระดับสูงได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจโดยให้ขยายฐานของธุรกิจในสามปีข้างหน้าด้วยวิธีการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ วิธีที่จะทำแผนไอทีมารองรับยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ธุรกิจมีสองวิธี คือ

1)        เลือกวิธีทวนเข็มนาฬิกาตามภาพที่  หมายถึงให้มีการวางแผนปรับปรุงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตลาด การขาย และการบริการลูกค้าก่อน ให้เข้าใจกระบวนการของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแตกต่างกับธุรกิจเก่ามาก ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องได้ผ่านการอบรมฝึกทักษะตามหน้าที่และภารกิจใหม่ มีการกำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business model) ใหม่ว่าสินค้าและบริการมีจุดเด่นต่างกับคู่แข่งอย่างไร เข้าใจกระบวนการบริการแบบ End-to-end รวมทั้งรูปแบบใหม่ของการก่อเกิดรายได้ รวมทั้งกำหนดกรอบวิธีที่อาจต้องมีการดำเนินการร่วมกับคู่ค้า เช่นวิธีการชำระเงินรูปแบบใหม่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เลือกรูปแบบใหม่ในการส่งเสริมการขาย ฯลฯ ทั้งหมดรวมอยู่ในแผนธุรกิจภายใต้ส่วนที่เรียกว่า “Organizational Infrastructure and Processes (OIP)” การดำเนินการวางแผน OIP ต่อจากการกำหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจ ทำให้เรามั่นใจว่า เราได้ปรับปรุงองค์กรให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ใหม่แล้ว (Strategic fit)  จากนั้น เราจึงดำเนินการต่อด้วยแผน ITIP (IT Infrastructure and Processes) คือกำหนดแผนไอทีมารองรับการทำงานของหน่วยงานด้านธุรกิจต่าง ๆ เพื่อสามารถบริการลูกค้าด้วยวิธีการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจหมายถึงการกำหนดคุณสมบัติของระบบซอฟต์แวร์และระบบฮาร์ดแวร์ การจัดซื้อจัดจ้างและติดตั้งระบบพาณิชย์ทรอนิกส์ จัดหาบุคลากรด้านไอทีและฝึกทักษะทางเทคนิค พร้อมให้บริการด้านไอซีทีอย่างมีคุณภาพ การลงทุนตามแผนไอซีทีในลักษณะนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ขององค์กร จึงเป็นแผนไอซีทีที่กลมกลืนกับแผนธุรกิจ(Functional Integration) หรือพูดอีกนัยหนึ่ง การลงทุนไอซีทีเช่นนี้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธุรกิจนั่นเอง  Henderson และ Venkatraman ผู้เป็นเจ้าของความคิดนี้ เรียกทางเลือกนี้ว่า เป็นทางเลือกที่มีความสอดคล้องกันจากมุมมองการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ (Strategy execution alignment perspective) 

2)        เลือกวิธีตามเข็มนาฬิกาที่แสดงในภาพที่ 2  ตามวิธีการนี้ ผู้บริหารระดับสูงได้กำหนดยุทธศาสตร์ธุรกิจที่จะขยายฐานธุรกิจด้วยวิธีทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงมีโอกาสติดตามพัฒนาการของเทคโนโลยี และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านไอซีทีทั้งจากภายในและภายนอกว่า ยุคนี้เป็นยุคของคลาวด์คอมพิวติง (Cloud Computing) ธุรกิจสามารถออกแบบระบบงานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมกว่าแต่ก่อนมาก อีกทั้งการลงทุนก็น้อยกว่า และสามารถเชื่อมโยงผู้บริโภคและพันธมิตรทางธุรกิจได้กว้างไกลกว่า นอกจากนี้ยังสามารถอาศัยทรัพยากรของพันธมิตรได้สะดวกขึ้นตั้งแต่การเสนอสินค้าข้างเคียงที่มีคุณค่าแต่ลูกค้าเพิ่มขึ้น การบริการด้านโลจิสติกที่สะดวกกว่า การบริการการชำระเงินอย่างปลอดภัยหลากหลายวิธี และบริการอื่น ๆ อีกมากที่กำลังจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอิทธิพบของคลาวด์คอมพิวติง  การบริการที่หลากหลายดังกล่าวจะสะดวกและประหยัด อีกทั้งยังสามารถปรับปรุงการทำงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้อย่างคล่องตัว (Agility) โดยอาศัยวิธีการประมวลผลเชิงกระบวนการ(Business Processes) และเชิงบริการ (Service oriented) ความสามารถของไอซีทีเหล่านี้มีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์ทางธุรกิจ ในกรณีนี้ ผู้บริหารระดับสูงเลือกที่จะมอบหมายให้ CIO พิจารณาแผนไอซีทีโดยมีคลาวด์คอมพิวติงเป็นพื้นฐาน เพื่อรองรับแผนการทำธุรกิจด้วยวิธีทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิด Functional Integration ในระดับยุทธศาสตร์ ต่อจากนั้น จึงต่อด้วยการทำแผนไอซีทีในระดับปฏิบัติ คือการทำแผนด้าน ITIP (IT Infrastructure and Processes) ซึ่งเป็นแผนเกี่ยวกับมาตรการเตรียมการใช้บริการคลาวด์เพื่องานพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ วางแผนการลงทุนไอซีทีเฉพาะในส่วนที่จำเป็น วางแผนบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลร่วมกับผู้ให้บริการคลาวด์ กำหนดมาตรการการใช้บริการคลาวด์อย่างปลอดภัย รวมทั้งการวางแผนพัฒนาบุคลากรไอซีทีขององค์กรให้มีความรู้ความสามารถที่จะให้บริการหน่วยงานอื่นภายใต้สภาพการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานไอซีทีแบบคลาวด์คอมพิวติงได้ ในส่วนหลังนี้ เรียกว่าได้ออกแบบแผน ITIP ที่เหมาะสมหรือกลมกลืนกับยุทธศาสตร์ด้านไอที (Strategic Fit) การลงทุนไอทีตามกรอบของแผนที่กล่าว จึงมีความสอดคล้องกันกับยุทธศาสตร์ของธุรกิจ ทำให้การลงทุนไอซีทีนั้นมีเป้าหมายชัดเจน ไม่ใช่การลงทุนหรือเลือกใช้เทคโนโลยีใหม่ตามแฟชั่น ทางเลือกที่สองนี้Henderson และ Venkatraman เรียกว่าเป็นความสอดคล้องของแผนจากมุมมองการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี (Technology transformation alignment perspective)

1.2.     เริ่มจากยุทธศาสตร์ไอที
การวางแผนยุทธศาสตร์ไอซีทีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของธุรกิจวิธีที่สอง คือให้มองICT เป็น “Enabler” หรือเป็นตัวช่วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ให้ใช้ความสามารถของไอซีทีสมัยใหม่เป็นตัวนำในการกำหนดยุทธศาสตร์ ซึ่งต่างกับแนวทางแรกในหัวข้อ 1.1 ที่ใช้ยุทธศาสตร์ธุรกิจเป็นตัวนำ ในการวางแผนให้สอดคล้องโดยอาศัยไอซีทีเป็นตัวนำนั้น มีทางเลือกสองทางดังแสดงในภาพที่ 3

                                                         (ภาพ ก.)                                               (ภาพ  ข.)
            ภาพที่ 3  การวางแผนเริ่มจากยุทธศาสตร์ไอทีแล้วตามด้วย (ทวนเข็มนาฬิกา (ตามเข็มนาฬิกา

1)        เลือกวิธีทวนเข็มนาฬิกาตามภาพที่  ในกรณีนี้หมายถึงว่าผู้บริหารระดับสูงเข้าใจอิทธิพลและประโยชน์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่เช่นคลาวด์คอมพิวติงดี  จึงใช้ความสามารถของเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหลักเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ โดยมีเป้าหมายการสร้างศักยภาพเพื่อการแข่งขัน Henderson และ Venkatraman เรียกมุมมองนี้ว่าCompetitive potential alignment perspective หรือมองความสอดคล้องของแผนยุทธศาสตร์จากมุมมองของศักยภาพในการแข่งขัน ตามตัวอย่างนี้ ผู้บริหารระดับสูงอาจใช้โอกาสจากคลาวด์คอมพิวติงพัฒนาแนวทางดำเนินธุรกิจใหม่โดยเน้นการให้บริการลูกค้าและส่งเสริมให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการสร้างคุณค่า (Value co-creation)  โดยอาศัยแนวคิดของวิทยาการบริการ (Service Science) ที่จะกล่าวต่อไปเป็นพื้นฐาน โดยเชื่อว่าคู่แข่งส่วนใหญ่จะยังไม่ได้ตระหนักถึงกลยุทธ์ในลักษณะนี้ จึงสามารถทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันได้  ขั้นสำคัญต่อมา คือการวางแผนเพื่อให้ทุกหน่วยงานขององค์กรมีความพร้อมและสามารถปรับตัวทำงานภายใต้กรอบของยุทธศาสตร์ของธุรกิจใหม่ นั่นก็คือการวางแผนงานเกี่ยวกับ Organizational Infrastructure and Processes ให้เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ทางธุรกิจนั่นเอง คือทำให้เกิด Strategic fit ในขณะที่ได้ทำแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจโดยอาศัยไอซีทีเป็นตัว Enabler ซึ่งเท่ากับทำให้ยุทธศาสตร์ธุรกิจและยุทธศาสตร์ไอทีมีลักษณะเป็น Functional integration เมื่อการลงทุนด้านไอซีทีสามารถรองรับยุทธศาสตร์ที่กล่าว จึงเป็นการลงทุนที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ธุรกิจอย่างแน่นอน

2)        เลือกเดินตามเข็มนาฬิกาตามภาพที่  หมายถึงว่าผู้บริหารระดับสูงเข้าใจอิทธิพลและประโยชน์ของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่นคลาวด์คอมพิวติง และต้องการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาแก้ปัญหาด้านบริการทางไอซีทีแก่บุคคลภายในและภายนอก ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ได้บั่นทอนคุณภาพและศักยภาพในการแข่งขันตลอดระยะเวลาอันยาวนาน ผู้บริหารระดับสูงยังไม่ต้องการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ธุรกิจด้านอื่น แต่เน้นการแก้ปัญหาการใช้ไอซีทีที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ผ่านพ้นไปก่อน  Henderson และ Venkatraman เรียกมุมมองนี้ว่า Service Level alignment perspective หรือมองความสอดคล้องของแผนยุทธศาสตร์จากมุมมองของศักยภาพในการให้บริการ ในกรณีนี้ผู้บริหารระดับสูงจะกำหนดยุทธศาสตร์ไอทีโดยยึดกรอบของ Cloud Maturity Model   เป็นหลัก แล้วจึงวางแผนปฏิบัติด้านไอซีที (IT Infrastructure and Processes) ให้สอดคล้องกัน

แนวทางวางแผนไอทีให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจทั้ง มุมมอง เป็นกรอบที่ช่วยให้การวางแผนการใช้ไอซีทีขององค์กรมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้แผนระดับต่าง ๆ ตั้งแต่แผนธุรกิจไปจนถึงแผนไอทีทุกระดับมีความสอดคล้องกัน ยังคงจำข้อความตอนหนึ่งที่เขียนไว้ในตอนที่ ได้ว่า ธุรกิจไม่ว่าขนาดใด ต่างเริ่มต้นจากวิสัยทัศน์ (Vision) ของเจ้าของหรือผู้ประกอบการ จากวิสัยทัศน์นำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์ (Strategy) เพื่อให้รู้วิถีทางที่จะทำให้วิสัยทัศน์เป็นจริง  และให้ธุรกิจมุ่งสู่เป้าหมาย (Goals) ที่ได้กำหนดไว้  เพื่อบรรลุผลดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยเครื่องจักรอัตโนมัติ รวมทั้งระบบคอมพิวเตอร์และระบบไอซีมาสนับสนุนการทำงานของพนักงานให้บรรลุเป้าประสงค์ตามยุทธศาสตร์ กรอบการวางแผนในลักษณะของ Business-IT Alignment Model ที่กล่าว จึงเป็นแนวทางปฏิบัติสำคัญที่รองรับขั้นตอนการทำแผนเพื่อดำเนินงานให้บรรลุผลสู่วิสัยทัศน์ได้  

ในตอนต่อไป จะพูดถึงเรื่อง Business Motivation Model (BMM) โดยมี Service Science เป็นแนวคิดหนึ่งของ Influencer (ปัจจัยที่มีอิทธิพล) ที่มีผลต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย ก่อนที่จะเริ่มบรรยายเรื่อง Enterprise Architecture ในบริบทที่เป็นเครื่องมือหรือแผ่นพิมพ์เขียว (Blueprint) ที่จะช่วยให้องค์กรใช้อ้างอิงและนำทางเพื่อปรับเปลี่ยนแผนนโยบายหรือยุทธศาสตร์ตามกรอบทั้ง ส่วนของBusiness-IT Alignment Model เพื่อรับมือกับแรงกดดันจากสภาพแวดล้อมได้อย่างคล่องตัวและทันต่อเหตุการณ์ และที่สำคัญ ทุกครั้งที่มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ธุรกิจ ก็จะสามารถปรับปรุงระบบไอซีที และโครงสร้างพื้นฐานของไอซีทีให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ธุรกิจ เพื่อช่วยขับเคลื่อนองค์กรตามยุทธศาสตร์ใหม่ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผล